สภาพและข้อมูลพื้นฐาน

ประวัติตำบลจรัส

บ้านจรัส ตั้งชื่อตามผักชนิดหนึ่งกินได้คล้ายผักตบชวามีดอกสีม่วง ขึ้นตามทุ่งนาในช่วงฤดูฝน โดยมีราษฎรอพยพมาเข้ามาอยู่เมื่อเกือบ 100 ปีมาแล้ว จนเข้าลักษณะเป็นหมู่บ้านจึงตั้งชื่อหมู่บ้านว่า บ้านจรัส หมู่ที่ 12 ขึ้นกับตำบลบัวเชด อำเภอสังขะ กระทั่งวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2521 กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศแบ่งท้องที่อำเภอสังขะ แยก 3 ตำบล ออกเป็นกิ่งอำเภอบัวเชด คือ ตำบลบัวเชด ตำบลสะเดา และตำบลจรัส ต่อมาได้ยกฐานะเป็นอำเภอบัวเชด เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2527 แบ่งเขตการปกครองเป็น 6 ตำบล ซึ่งตำบลจรัส เป็นตำบลหนึ่งใน 6 ตำบลของอำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์ การจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลจรัส สภาตำบลจรัส ได้ยกฐานะจัดตั้งเป็น องค์การบริหารส่วนตำบลจรัส เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2540 โดยอาศัยประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดองค์การบริหารส่วนตำบล ลงวันที่ 16 ธันวาคม 2539 ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา หน้า 1 เล่ม 113 ตอนพิเศษ 52 ง ลงวันที่ 25 ธันวาคม 2539

ลักษณะภูมิประเทศและภูมิอากาศ

องค์การบริหารส่วนตำบลจรัส พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูงสลับกับภูเขา มีป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์บริเวณภูเขาตามเทือกเขาพนมดงรักชายแดนไทย - กัมพูชา เป็นแหล่งต้นน้ำหลายสายไหลผ่านเหมาะแก่การเพาะปลูกพืชไร่และทำนา และมีแหล่งน้ำที่สำคัญ คือ อ่างเก็บน้ำทำนบและอ่างเก็บน้ำบ้านจรัส มักมีฝนตกชุกระหว่างเดือนกรกฎาคม

- กันยายน อากาศค่อนข้างหนาวเดือนพฤศจิกายน
- ธันวาคม อากาศร้อนจัดเดือนมีนาคม
- พฤษภาคม และมักประสบปัญหาฝนทิ้งช่วง ทำให้เป็นปัญหาในการเพาะปลูก

ที่ตั้ง/อาณาเขตองค์การบริหารส่วนตำบลจรัส

องค์การบริหารส่วนตำบลจรัส ตั้งอยู่เลขที่ 356 หมู่ที่ 1 ตำบลจรัส อำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์ มีระยะทางห่างจากที่ว่าการอำเภอบัวเชด ทางทิศใต้ประมาณ 13 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 2124 และทางหลวงชนบทหมายเลข 4004 และมีอาณาเขตติดต่อกับตำบลต่างๆ ดังนี้

ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลอาโพนและตำบลสะเดา อำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์
ทิศใต้ ติดต่อกับ ประเทศกัมพูชาประชาธิปไตย
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลไพรพัฒนา อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลอาโพน อำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์

ระยะห่างจากจังหวัด

องค์การบริหารส่วนตำบลจรัส ห่างจากจังหวัดสุรินทร์ เป็นระยะทางประมาณ 80 กิโลเมตร โดยมีรายละเอียด ดังนี้
- ระยะทางจากองค์การบริหารส่วนตำบล ตามทางหลวงชนบทหมายเลข 4004 และทางหลวงหมายเลข 2124 ถึงอำเภอบัวเชด เป็นระยะทางประมาณ 13 กิโลเมตร
- ระยะทางจากอำเภอบัวเชด ตามทางหลวงหมายเลข 2124 ถึงอำเภอสังขะเป็นระยะทางประมาณ 18 กิโลเมตร
- ระยะทางจากอำเภอสังขะ ตามทางหลวงหมายเลข 2077 ถึงอำเภอลำดวนเป็นระยะทางประมาณ 23 กิโลเมตร
- ระยะทางจากอำเภอลำดวนตามทางหลวงหมายเลข 2077 ถึงจังหวัดสุรินทร์เป็นระยะทางประมาณ 26 กิโลเมตร

ขนาดพื้นที่ตำบลจรัส

ตำบลจรัส มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 230 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 143,750 ไร่ ครอบคลุม อาณาเขตการปกครองทั้งสิ้น 12 หมู่บ้าน โดยแบ่งเป็นพื้นที่ต่างๆ ดังนี้

 

ที่สาธารณประโยชน์ในพื้นที่ตำบลจรัส

ด้านโครงสร้างพื้นฐาน

- ศูนย์อินเตอร์เน็ตชุมชนตำบลจรัส (USO NET) จำนวน 1 แห่ง

การคมนาคม

 

ไฟฟ้า

ครัวเรือนที่ไฟฟ้าเข้าถึงในพื้นที่ตำบลจรัส มีจำนวนทั้งสิ้น 12 หมู่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 96.71 ครัวเรือนที่ยังไม่มีไฟฟ้าใช้ คิดเป็นร้อยละ 3.29

แหล่งน้ำ

 

- อ่างเก็บน้ำบ้านจรัส บ้านจรัส หมู่ที่ 1
- อ่างเก็บน้ำทำนบ บ้านโอทะลัน หมู่ที่ 3

ด้านทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยว

ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญในพื้นที่ คือ ป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ โดยมีหน่วยงานที่ดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และมีแหล่งท่องเที่ยวในตำบลจรัส ดังนี้

1.หน่วยพิทักษ์ป่าเขาศาลา จำนวน 5 คน
2.หน่วยพิทักษ์ป่าเขาศาลา (จุดสกัดช่องพริก) จำนวน 2 คน
3.โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเขาศาลา จำนวน 1 คน
4.หน่วยป้องกันรักษาป่า ที่ สร. 3 จำนวน 11 คน

ด้านการเมืองการบริหาร

ผู้นำหมู่บ้านตำบลจรัส

ด้านการศึกษา

โรงเรียนในสังกัดสำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน

แหล่งข้อมูล : ส่วนการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ณ วันที่ 10 มิถุนายน 2558

ด้านการสาธารณสุข

สถานพยาบาลในตำบลจรัส

ด้านสถาบันและองค์กรทางศาสนา

ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

1.ร้อยเฉพาะกิจตำรวจตระเวนชายแดนที่ 214 (บ้านตระเวง)
จุดที่ 1 ร้อยเฉพาะกิจตำรวจตระเวนชายแดนที่ 214 กำลังพล 8 นาย
จุดที่ 2 ฐานปฏิบัติการช่องพริก กำลังพล 26 นาย
จุดที่ 3 ฐานปฏิบัติการเนิน 429 กำลังพล 26 นาย
จุดที่ 4 ฐานปฏิบัติการช่องกระโดน กำลังพล 27 นาย
2.ศูนย์อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.) จำนวนสมาชิก 109 คน
3.ลูกเสือชาวบ้านจำนวน 4 รุ่น 451 คน
4.ไทยอาสาป้องกันชาติจำนวน 8 รุ่น 400 คน
5.กองหนุนเพื่อความมั่นคงจำนวน 7 รุ่น 159 คน
6.อปพ.จำนวน 5 รุ่น 250 คน อาสาสมัครตำรวจบ้าน จำนวน 35 คน
7.จุดบริการประชาชนตำบลจรัส สภ.บัวเชด สี่แยกบ้านนาสนวนพัฒนา จำนวน 2 นาย
8.จุดบริการประชาชนและนักท่องเที่ยว ตชด.214 สี่แยกบ้านนาสนวนพัฒนาจำนวน8าย
9.กองกำลังสุรนารี ฐานปฏิบัติการเขาศาลา กำลังพล 10 นาย
10.ทหารพราน ฐานปฏิบัติการเขาศาลา กำลังพล 10 นาย

ด้านสวัสดิการสังคม

1.ข้อมูลผู้สูงอายุ

  • จำนวนผู้สูงอายุที่ได้รับเบี้ยยังชีพ จำนวน 937 คน
หมู่ที่ จำนวนประชากรทั้งหมด (คน) จำนวนผู้สูงอายุ (คน) อายุ 60-69 ปี อายุ 70-79 ปี อายุ 80-89 ปี อายุ 90 ปีขึ้นไป
1 632 59 24 23 9 3
2 489 63 43 10 10 0
3 723 86 51 27 8 0
4 641 83 54 19 8 2
5 575 74 39 22 12 1
6 667 79 52 23 4 0
7 318 55 36 14 5 0
8 1014 143 95 39 9 0
9 753 95 56 33 4 2
10 826 104 64 27 13 0
11 285 31 22 7 1 1
12 518 65 32 20 12 1
รวม 7441 937 568 264 95 10

 

2.ข้อมูลผู้พิการ

  • จำนวนผู้พิการที่ได้รับเบี้ยยังชีพ จำนวน 253 คน
หมู่ที่ จำนวนประชากรทั้งหมด (คน) จำนวนผู้พิการ (คน) อุดหนุนทั่วไป อายุต่ำกว่า 18 ปี
1 632 15 15 0
2 489 15 14 1
3 723 19 19 0
4 641 18 18 0
5 575 28 27 1
6 667 17 16 1
7 318 18 18 0
8 1014 42 40 2
9 753 27 26 1
10 826 25 24 1
11 285 3 2 1
12 518 26 25 1
รวม 7441 253 244 9

 

3.ข้อมูลผู้ป่วยเอดส์

  • จำนวนผู้ป่วยเอดส์ที่ได้รับเบี้ยยังชีพ จำนวน 6 คน
หมู่ที่ จำนวนประชากรทั้งหมด (คน) จำนวนผู้ป่วยเอดส์ (คน)
1 632 1
2 489 1
3 723 1
4 641 0
5 575 0
6 667 0
7 318 0
8 1014 2
9 753 1
10 826 0
11 285 0
12 518 0
รวม 7441 6

*** ข้อมูล ณ เดือน เมษายน 2565

ข้อมูลอื่นๆ

คณะกรรมการ/อาสาสมัครประจำชุมชนในตำบลจรัส

ภูมิปัญญาท้องถิ่น/ปราชญ์ชาวบ้าน

 

 

Submit to FacebookSubmit to Google PlusSubmit to TwitterShare with friendsPrint this page